บทความ

ชำมะเลียง

รูปภาพ
ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : พุมเรียง โคมเรียง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง ๑๕ ม. กิ่งบางครั้งมีช่องอากาศ หูใบเทียมคล้ายใบติดเป็นคู่ที่โคนก้านใบ รูปรีกว้าง ยาว ๒-๔ ซม. มีก้านสั้น ๆ ใบประ@กอบปลายคี่ เรียงสลับหรือตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก        ยาว ๙-๔๐ ซม. ใบปลายส่วนมากลดรูป ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือซอกใบ  กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปรีกว้าง ยาว ๒-๔ มม. ดอกสีม่วงอมแดงหรือขาว มี ๔ กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว ๑.๕-๓ มม. ขอบมีขนครุย เกสรเพศผู้มี ๕-๘ อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมาก ผลรูปรีหรือรูปไข่ ยาว ๑-๓ ซม. สุกสีม่วงดำ มี ๒ เมล็ด ยาว ๑-๒ ซม. มีขั้ว การกระจายพันธุ์ : พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ประโยชน์ :  ปลูกเป็นไม้ผล เนื้อไม้แข็งและทนทาน ยอดอ่อนกินเป็นผักสดหรือใช้ปรุงอาหาร รากบดเป็นยาพอกแก้คัน การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้

พริกนกหมอคาร์

รูปภาพ
ชื่อสามัญ : ชื่อท้องถิ่น : - ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orophea kerrii Kessler ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๖-๘ ม. ทรงพุ่มโปร่ง เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งยาวขนานกับพื้นดิน เนื้อไม้เหนี่ยว ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปรี กว้าง ๓-๔.๕ ซม. ใบหนา ใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ดอกออกตามซอกใบ ๑-๒ ดอก ดอกสีเหลือง มีใบประดับขนาดเล็ก ติดอยู่ที่โคนก้านดอก ๒ แผ่น และอีก ๑ แผ่นติดอยู่ตรงกลางก้านดอก ใบประดับสีแดงม่วง ปลายกลีบสีเหลืองแยกออกจากกันและกระดกงอขึ้น ผลกลุ่ม มี ๓ – ๑๐ ผล ผลย่อยขนาดกลมรี กว้าง ๑ ซม. ยาว ๑.๒ ซม. ออกดอกหมุนเวียนทั้งปี เป็นไม้ถิ่นเดียวในประเทศไทย พบครั้งแรกที่เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิง การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ที่มา : ที่มา:ปิยะ เฉลิมกลิ่น.๒๕๔๔.พรรณไม้วงศ์กระดังงา.

กล้วยน้อย

รูปภาพ
ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : กล้วยน้อย ตาแหลว สะทาง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylopia vielana Pierre ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูง ๒๕ ม. ไม่ผลัดใบ ในภาคใต้ มักผลัดใบในภาคอื่น เปลือกสีน้ำตาลอมส้ม แตกเป็นแผ่น เปลือกในสีเหลืองอ่อน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบ หอก กว้าง ๓ – ๔.๕ ซม. ยาว ๕-๑๐ ซม. เมื่ออ่อน มีขนแข็งสีขาว ดอกเดี่ยว  หรือเป็นกระจุกไม่เกิน ๓ ดอก กลีบดอกสีเหลืองแกมน้ำตาลอ่อน กลิ่นหอมกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ รูปรีแกมรูปสามเหลี่ยม โคนติดกันเป็นรูปถ้วย มี ๓ พู ผลย่อย แตก ตะเข็บ เดี่ยว เนื้อสีแดง คอดระหว่างเมล็ดเล็กน้อย มีขนประปราย ผลแก่สีเหลืองอมส้ม แก่แตกด้านเดียว มี ๒-๓ เมล็ด เมล็ดรูปไข่ สีแดง มี ๒ -๗ เมล็ด เมล็ดแข็ง สีม่วงอมเทาถึงดำ ๒ แถว มีเยื่อหุ้มบางสีอ่อน การกระจายพันธุ์ : บริเวณป่าดิบชื้น  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน เวียดนาม กัมพูชา ไทย ประโยชน์ : ดอก เข้าเกสรร้อยแปด ปรุงยาหอมบำรุงหัวใจ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ที่มา : ที่มา:ปิยะ เฉลิมกลิ่น.๒๕๔๔.พรรณไม้วงศ์กระดังงา.
หมากงาช้าง ชื่อ สามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : ปีแน ลือดอ ,หมากเขียว, รัก ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Nenga pumila (Blume) H. Wendl. var. pachystachya (Blume) Fernando ชื่อ วงศ์ : ARECACEAE ลักษณะ ทาง พฤกษศาสตร์ : ลำ ต้นขนาด 4-6 เซนติเมตร ลำต้นสีขาวนวล มีข้อป ล้องชัดเจน ใบประกอบแบบขนนก  เรียงสลับ  ใบย่อยรูปขอบขนาน สีเหลืองอมเขียว ออกช่อ แบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว  ติดผลจำนวนมาก  ทรงกลมรี การ กระจายพันธุ์ : พม่า ไทยพบในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ประโยชน์ :   ปลูกในกระถาง หรือปลูกเป็นไม้ประธานใน สวนหย่อม ริม ศาลา เป็นฉากกั้น ปลูกมุมอาคาร ริมทะเล ลำต้นสีขาวนวล สวยงาม การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด      ที่มา : http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Palms
รูปภาพ
พญาไร้ใบ ชื่อสามัญ : Milk bush, Pencil plant, Rubber-hedge Euphorbia ชื่อท้องถิ่น : พญาไร้ใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia tirucalli L. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : กิ่งอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล กิ่งกลม อวบน้ำ ใบเดี่ยว ขนาดเล็กมากจนเหมือนไม่มีใบ ออกตามลำต้น ทำให้เห็นแต่ลำต้นเป็นสีเขียว มียางขาว ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอมเหลือง มีขน การกระจายพันธุ์ : เขตร้อนของทวีปอเมริกา แอฟริกา มาดากัสการ์ และศรีลังกา ประโยชน์ : ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ น้ำยางสีขาวมีพิษ จึงใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ             ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
รูปภาพ
สลัดไดป่า ชื่อสามัญ : Malayan spurge tree ชื่อท้องถิ่น : สลัดไดป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia antiquorum antiquorum L. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตามต้นและกิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมอวบน้ำ เว้าคอดต่อกัน ผิวเรียบ ขอบสันหรือตามแนวเหลี่ยมเป็นหยักและมีหนามคู่เล็กแหลม ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยจะออกตามแนวสันเหนือหนาม ผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดเล็กมีพู 3 พู สีน้ำตาลเข้ม การกระจายพันธุ์ : เอเชียเขตร้อน ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้เพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง       ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
ว่านนาคราช ชื่อสามัญ : Monadenium ชื่อท้องถิ่น : ว่านนาคราช, พญานาคราช , เนระพูสี, นาคราชใบหยาบ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia ritchiei (P. R. O. Bally) Bruyns. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :   ไม้ฉ่ำน้ำ ลำต้นยาวรูปทรงกระบอก รอบลำต้นมีตาคล้ายรูปขนมเปียกปูน หรือ      หกเหลี่ยม มีหนาม อยู่ตรงกลางตาออกมาพร้อมใบ ลักษณะของใบคล้ายกับใบพายตรงปลายใบแหลม ใบออกจากลำต้นไม่มีก้าน เมื่อโดนแดดจัดใบจะเป็นสีแดง ดอกออกจากลำต้นระหว่างตา กลีบดอกชั้นนอกที่อยู่ การกระจายพันธุ์ : หมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทย ประโยชน์ : ในทางแก้พิษที่เกิดจากเขี้ยวไม่ว่าจะถูกงูกัด สัตว์มีพิษกัด หมากัด ให้นำเถานาคราชตำกับเหล้า หรือน้ำซาวข้าวพอกที่ปากแผล จะช่วยระงับการเจ็บปวดได้ การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้การปักชำ ลำต้น    ที่มา : http://natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/data/paya-nak.htm