บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017
หมากงาช้าง ชื่อ สามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : ปีแน ลือดอ ,หมากเขียว, รัก ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Nenga pumila (Blume) H. Wendl. var. pachystachya (Blume) Fernando ชื่อ วงศ์ : ARECACEAE ลักษณะ ทาง พฤกษศาสตร์ : ลำ ต้นขนาด 4-6 เซนติเมตร ลำต้นสีขาวนวล มีข้อป ล้องชัดเจน ใบประกอบแบบขนนก  เรียงสลับ  ใบย่อยรูปขอบขนาน สีเหลืองอมเขียว ออกช่อ แบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว  ติดผลจำนวนมาก  ทรงกลมรี การ กระจายพันธุ์ : พม่า ไทยพบในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ประโยชน์ :   ปลูกในกระถาง หรือปลูกเป็นไม้ประธานใน สวนหย่อม ริม ศาลา เป็นฉากกั้น ปลูกมุมอาคาร ริมทะเล ลำต้นสีขาวนวล สวยงาม การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด      ที่มา : http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Palms
รูปภาพ
พญาไร้ใบ ชื่อสามัญ : Milk bush, Pencil plant, Rubber-hedge Euphorbia ชื่อท้องถิ่น : พญาไร้ใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia tirucalli L. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : กิ่งอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีน้ำตาล กิ่งกลม อวบน้ำ ใบเดี่ยว ขนาดเล็กมากจนเหมือนไม่มีใบ ออกตามลำต้น ทำให้เห็นแต่ลำต้นเป็นสีเขียว มียางขาว ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด ดอกสีขาวอมเหลือง มีขน การกระจายพันธุ์ : เขตร้อนของทวีปอเมริกา แอฟริกา มาดากัสการ์ และศรีลังกา ประโยชน์ : ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ น้ำยางสีขาวมีพิษ จึงใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ             ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
รูปภาพ
สลัดไดป่า ชื่อสามัญ : Malayan spurge tree ชื่อท้องถิ่น : สลัดไดป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia antiquorum antiquorum L. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตามต้นและกิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมอวบน้ำ เว้าคอดต่อกัน ผิวเรียบ ขอบสันหรือตามแนวเหลี่ยมเป็นหยักและมีหนามคู่เล็กแหลม ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยจะออกตามแนวสันเหนือหนาม ผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดเล็กมีพู 3 พู สีน้ำตาลเข้ม การกระจายพันธุ์ : เอเชียเขตร้อน ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้เพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง       ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
ว่านนาคราช ชื่อสามัญ : Monadenium ชื่อท้องถิ่น : ว่านนาคราช, พญานาคราช , เนระพูสี, นาคราชใบหยาบ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia ritchiei (P. R. O. Bally) Bruyns. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :   ไม้ฉ่ำน้ำ ลำต้นยาวรูปทรงกระบอก รอบลำต้นมีตาคล้ายรูปขนมเปียกปูน หรือ      หกเหลี่ยม มีหนาม อยู่ตรงกลางตาออกมาพร้อมใบ ลักษณะของใบคล้ายกับใบพายตรงปลายใบแหลม ใบออกจากลำต้นไม่มีก้าน เมื่อโดนแดดจัดใบจะเป็นสีแดง ดอกออกจากลำต้นระหว่างตา กลีบดอกชั้นนอกที่อยู่ การกระจายพันธุ์ : หมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทย ประโยชน์ : ในทางแก้พิษที่เกิดจากเขี้ยวไม่ว่าจะถูกงูกัด สัตว์มีพิษกัด หมากัด ให้นำเถานาคราชตำกับเหล้า หรือน้ำซาวข้าวพอกที่ปากแผล จะช่วยระงับการเจ็บปวดได้ การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้การปักชำ ลำต้น    ที่มา : http://natres.skc.rmuti.ac.th/WAN/data/paya-nak.htm
รูปภาพ
ลิ้นมังกรสั้น ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : ลิ้นมังกรสั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaenaceae Sansevieria trifasciata Prain cv. Hahnii ชื่ อวงศ์ : DRACAENACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม 15 – 20 เมตร ใบแคบเรียวเล็ก สีเขา จุดลายแต้ม สีเขียว ตลอดใบ การกระจายพันธุ์ : - ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ การขยายพันธุ์ : ปักชำโดยใช้ส่วนของใบ
รูปภาพ
ลิ้นมังกรยาว ชื่อสามัญ : Bowstring hemp, Mother-in-law’s tongue, Snake plant ชื่อท้องถิ่น : ลิ้นมังกรยาว, ลิ้นนาคราช, เกตุพระเจ้า, ศรนารายณ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sansevieria trifasciata Prain ชื่อวงศ์ : ASPARAGACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออกมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ  ดอกมีสีขาว การกระจายพันธุ์ : แอฟริกาและอินเดีย ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้ตอนกิ่งหรือปักชำ
รูปภาพ
พลูป่า  ชื่อสามัญ : phlu pa ชื่อท้องถิ่น : พลูป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper macropiper Pennant ชื่อวงศ์ : PIPERACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  : ไม้เลื้อย มีข้อและปล้องชัดเจน ที่ข้อมีรากสั้น ๆ ออกรอบข้อ ใบเดี่ยวติดกับ        ลำต้นแบบสลับ ลักษณะของใบแหลมคล้ายใบโพ ผิวใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น การกระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์ : นิยมนำมาทากับปูนแดงเคี้ยวร่วมกับหมาก(ใช้แทนพลูบ้าน) ใช้ในพิธีมงคลเป็นเครื่องเซ่นไหว้ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้ลำต้น ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
รูปภาพ
ปอสองสี ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : กะลูแป,ปอท้องขาว , รัก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia gilva Miq. ชื่อวงศ์ : MALVACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง  20-30  เมตร ลำต้น เปลาตรง พูพอนแคบ ๆ เปลือกเรียบ ใบรูปรี หลังใบเกลี้ยง มีขนสั้น ๆ ดอกเล็ก  สีขาวครีม เกิดเป็นช่อตามง่ามใบ ผลมักติดเป็นพวงรูปดาว  เฉพาะตอนปลายก้านช่อ  พวงละ  3-5  ผล ผิวเปลือกด้านนอกมีขนสั้น ๆ เมื่อแก่สีแดงและแตกอ้า  มีเมล็ดอยู่ภายใน  1-3  เมล็ด การกระจายพันธุ์ : ป่าพรุและป่าที่ลุ่มต่ำน้ำขังทางภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย ประโยชน์ :  เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือน  ทำไม้แบบ  หีบ  และลังใส่ของ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
แก้วมังกร ชื่อสามัญ : Dragon fruit,Night blooming Cereus, Strawberry pear ชื่อท้องถิ่น : แก้วมังกร, ว่านเพชรสังฆาต ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hylocereus undatus (Haw.) Britton & Rose ชื่อวงศ์ : CACTACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อย มีลำต้นยาวประมาณ 5 เมตร มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ดอกสีขาว ขนาดใหญ่กลีบยาวเรียงซ้อนกัน บานตอนกลางคืน ผลทรงกลมรี สีของเปลือกผลเมื่อดิบเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นมีสีแดงม่วงหรือสีบานเย็น มีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่รอบผล เนื้อผลจะมีสีแดง เมล็ดสีดำเล็กคล้ายๆเม็ดงา การกระจายพันธุ์ : อเมริกากลาง ประโยชน์ : รับประทานเป็นผลไม้สด การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการปักชำด้วยกิ่งหรือลำต้น           ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ยาร่วงพรุ ชื่อสามัญ : Little gooseberry tree ชื่อท้องถิ่น : จ้าม่วง, มะม่วงขี้กระต่าย, รัก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buchanania arborescens (Blume) Blume ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :  ไม้ต้น สูง 20-35  เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลเทา เรียบ    มีช่องระบายอากาศเป็นตุ่มเล็ก ๆ หรือแตกสะเก็ด เมื่อมีบาดแผลมียางสีขาวซึมออกมา แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเกือบดำในเวลาต่อมา ใบ รูปไข่กลับ ด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ผล ค่อนข้างกลม  ผิวเรียบ สุกสีแดงเข้มถึงเกือบดำ การกระจายพันธุ์ : เอเชีย และอเมริกาใต้ ประโยชน์ :  เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้าง บ้านเรือน การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเมล็ด ที่มา : www.dnp.go.th/Pattani_botany
รูปภาพ
นางปรน ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : นางชวน โปง ยางเร สังตัง  หลางตาง  หัวสุม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Campnosperma  auriculatum   (Bl.) Hook.f. ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ไม้ต้น   สูง  30-35  เมตร  ลำต้นเปลาตรง  มีรากค้ำยันต่ำ ๆ หรือมีพูพอนแคบ ๆ เปลือกสีเทาถึงเทาแกมเหลือง  แตกตื้น ๆ ตามยาวหรือเป็นสะเก็ด แผ่นใบ รูปไข่กลับ  ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้านปลายใบหยักเว้าลึก  โคนใบสอบแคบเป็นครีบลงไปตามก้านใบโคนครีบแผ่กว้างออกคล้ายติ่งหู ดอก เล็ก  สีเหลืองอ่อน  ออกเป็นช่อแยกแขนงตามง่ามใบใกล้ยอด  ผล  ค่อนข้างกลม สีแดงคล้ำถึงเกือบดำ การกระจายพันธุ์ : พบขึ้นบริเวณใกล้ลำธารหรือที่ลุ่มน้ำขัง  โดยเฉพาะป่าดงดิบทางภาคใต้ ประโยชน์ :  เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือน การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเมล็ดและกิ่งตอน ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลำแพน
ยี่โถปีนัง ชื่อสามัญ :   Bamboo orchid ชื่อท้องถิ่น : หญ้าจิ้มฟันควาย, เอื้องใบไผ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arundina graminifolia (D. Don) Hochr. subsp. Graminifolia ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   มีลักษณะลำต้นเป็นข้อเป็นปล้องคล้ายพืชตระกูลหญ้าหรือไผ่ ใบเรียวแหลม ดอกช่อๆที่ปลายยอดช่อละ ๑ - ๒ ดอก กลีบดอกมีสีขาวปนม่วงอ่อน ปลายดอกมีรูปกรวยโคนเล็กปากดอกบานออก มีสีชมพูอ่อนอมม่วง ลึกเข้าไปในกรวยมีสีเหลืองแซมขาว การกระจายพันธุ์ : ทุ่งหญ้าบนภูเขาหรือไหล่เขาตามพื้นดินที่ค่อนชื้นแฉะ พบได้ทุกภาคของไทย ประโยชน์ :   ไม้ประดับ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการขุดย้ายหน่อ ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ยี่โถปีนัง
รูปภาพ
โสม ชื่อสามัญ : Fame flower, Jewels of Opar, Pink baby’s breath ชื่อท้องถิ่น : โสม, ว่านผักปัง, โสมคน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Talinum paniculatum (Jacq.) Gaertn. ชื่อวงศ์ : TALINACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน  ลำต้นฉ่ำน้ำ ใบเรียว เวียนสลับ รูปไข่ ดอกช่อปลายกิ่ง สีชมพู ผลสีแดง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเทา เมล็ดสีดำ จำนวนมาก การกระจายพันธุ์ : พบในป่าเต็งรัง ถิ่นกำเนิดอเมริกาเหนือ ประโยชน์ : ใช้เฉพาะส่วนของรากที่อยู่ลงไปใต้ดิน โสมที่ขุดนำมาใช้ได้นั้นจะมีอายุตั้งแต่ 3 - 6 ปี กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง  ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือนหรืออาการวัยทอง การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้ ลำต้น ปักชำ             ที่มา : http://biodiversity.forest.go.th
รูปภาพ
หม้อข้าวหม้อแกงลิง ชื่อสามัญ :   Swamp pitcher plant ชื่อท้องถิ่น : หม้อข้าวลิง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nepenthes andamana M. Catal. ชื่อวงศ์ : NEPENTHACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ไม้เลื้อย ใบเดี่ยวรี ใบเรียงตัวเป็นเกลียว ใบรูปไข่หรือรูปปลายหอก หม้อล่างมีลักษณะยาว ก้นหม้อเป็นกระเปาะ มีเอวช่วง 1 ใน 3 จากก้น ด้านบนทรงกระบอก  ดอกเป็นแบบช่อกระจะ แบบดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น การกระจายพันธุ์ : เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ไทย กัมพูชา อินโดจีน จีน หมู่เกาะโมลุกกะ ประโยชน์ :   เถาหรือลำต้นชาวบ้านนิยมไปทำเชือกเพื่อผูกมัดสิ่งของต่างๆ เช่น ผูกเสาทำรั้วบ้าน หรือ ใช้ถักเครื่องจักสาน  หม้อ แช่ข้าวเหนียว หยอดกะทิตามลงไป นำมานึ่งจนสุก การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการขุดย้ายหน่อ ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
รูปภาพ
ว่านหางจระเข้ ชื่อสามัญ : Aloe ชื่อท้องถิ่น : ว่านหางเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera var. chinensis. ชื่อวงศ์ : XANTHORRHOEACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน การกระจายพันธุ์ : ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เกาะโซโคตร้า (Socotra) ในประเทศเยเมน, ประเทศโซมาเลีย และ ประเทศซูดาน ประโยชน์ : ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร Anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่าย การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้หน่ออ่อนปักชำ           ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
รูปภาพ
เขนงนายพราน ชื่อสามัญ :  Swamp pitcher plant ชื่อท้องถิ่น : กระบอกน้ำพราน หม้อแกงค่าง ปูโยะ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce var. mirabilis ชื่อวงศ์ : NEPENTHACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ไม้เลื้อย ใบเดี่ยวรี ใบเรียงตัวเป็นเกลียว ใบรูปไข่หรือรูปปลายหอก หม้อล่างมีลักษณะยาว ก้นหม้อเป็นกระเปาะ มีเอวช่วง 1 ใน 3 จากก้น ด้านบนทรงกระบอก  ดอกเป็นแบบช่อกระจะ แบบดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น การกระจายพันธุ์ : เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ไทย กัมพูชา อินโดจีน จีน หมู่เกาะโมลุกกะ ประโยชน์ :   เถาหรือลำต้นชาวบ้านนิยมไปทำเชือกเพื่อผูกมัดสิ่งของต่างๆ เช่น ผูกเสาทำรั้วบ้าน หรือ ใช้ถักเครื่องจักสาน  หม้อ แช่ข้าวเหนียว หยอดกะทิตามลงไป นำมานึ่งจนสุก การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการขุดย้ายหน่อ ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
ตังหนใบใหญ่ ชื่อสามัญ :  - ชื่อท้องถิ่น : ตังหนลอกอ (ตรัง) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calophyllum soualattri Burm. f. ชื่อวงศ์ : CALOPHYLLACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :  ไม้ต้น สูง  25-40  เมตร มีรากค้ำยันสูง  3-5  เมตร ลำต้นเปลาตรง  เปลือกสีน้ำตาลเข้ม  แตกเป็นแผ่นบางยาว ๆ เมื่อมีบาดแผลมียางใส ข้น เหนียว คล้ายน้ำผึ้งซึมออกมาเป็นเม็ดเล็ก ๆ ใบรูปรี ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบเว้า โคนใบสอบ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ  ผล  รูปไข่ปลายแหลม   การกระจายพันธุ์ : ประเทศไทยพบเฉพาะในป่าพรุทางภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย ประโยชน์ : เนื้อไม้ค่อนข้างแข็งและทนทาน  ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน  และทำเรือขุดได้ดี การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
รูปภาพ
ว่านหางจระเข้ ชื่อสามัญ : Aloe ชื่อท้องถิ่น : ว่านหางเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f. ชื่อวงศ์ : XANTHORRHOEACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน การกระจายพันธุ์ : ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เกาะโซโคตร้า (Socotra) ในประเทศเยเมน, ประเทศโซมาเลีย และ ประเทศซูดาน ประโยชน์ : ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร Anthraquinone ที่มีฤทธิ์ขับถ่าย การขยายพันธุ์ : ด้วยวิธีการใช้หน่ออ่อนปักชำ            ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
เพกาพรุ ชื่อสามัญ :  pheka phru ชื่อท้องถิ่น : เพกาพรุ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Radermachera pinnata (Blanco) Seem. ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :  ไม้ต้น สูง 10 เมตร ใบประกอบชั้นเดียว มีใบย่อย 2-4 คู่ รูปใบหอก แผ่นใบด้านล่างมีต่อมสีดำกระจายเป็นแนว ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง แยกแขนงสั้น ๆ หลอดกลีบเลี้ยงปลายตัด    ดอกรูปทรงกระบอก สีขาวอมชมพู หลอดกลีบดอกยาว โคนคอด กลีบรูปรีกว้าง เกสรเพศผู้มีต่อมขนที่จุดติด ฝักออกเป็นกระจุก รูปแถบ ตรง ห้อยลง เมล็ดรูปแถบ ยาวประมาณ 2 ซม การกระจายพันธุ์ : อินเดีย จีน พม่า ลาว คาบสมุทรมลายู และฟิลิปปินส์ ไทยพบทางภาคเหนือ และภาคใต้ ประโยชน์ : ฝักและยอดรับประทาน การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/botany/detail
สะเตียว ชื่อสามัญ : sa tiao ชื่อท้องถิ่น : สะเตียว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Madhuca motleyana (de Vriese) J. F. Macbr. ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ไม้ต้น สูง 20-35 เมตร ลำต้นกลม  เปลาตรง เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา ใบรูปรี  ปลายใบเป็นติ่งแหลมถึงเรียวแหลม ใบเกลี้ยง ดอก  ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามกิ่ง ผลรูปกลมแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม มี  1-2  เมล็ด การกระจายพันธุ์ : พบขึ้นในป่าพรุและในป่าที่ลุ่มน้ำขังทางภาคใต้ของประเทศไทย ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือนและทำเรือขุด การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
รูปภาพ
โป๊ยเซียน ชื่อสามัญ : Christ’s thorn, Crown of thorns ชื่อท้องถิ่น : โป๊ยเซียน  พระเจ้ารอบโลก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia milii Des Moul. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ใบยาวรี ปลายใบจะแหลม ออกดอกเป็นกลุ่มๆ แต่ละดอกจะมีกลีบอยู่ตรงข้ามกัน ดอกโป๊ยเซียนมีหลายสี เช่น แดง เหลือง ชมพู ส้ม ขาว เป็นต้น ดอกโป๊ยเซียนจะออกดอกทั้งปี แต่ออกมากในหน้าหนาว และดอกจะทนมาก ลำต้นมีหนามแหลม และแข็งคล้ายกระบองเพชร การกระจายพันธุ์ : จีน ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากโป๊ยเซียนเป็นพืชมงคล การขยายพันธุ์ : การปักชำ การตอนกิ่ง การเสียบกิ่ง และการเพาะเมล็ด แต่ที่นิยมทำมากและได้ผลดีคือ การ ปักชำ และการเสียบกิ่ง           ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
หลุมพี ชื่อสามัญ : Asam paya ชื่อท้องถิ่น : กระลูบี, ลุบี (นราธิวาส) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleiodoxa conferta (Griff.) Burret ชื่อวงศ์ : ARECACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบยาวเป็นทาง ลำต้นมีหนามแหลมยาว    ผลเป็นทะลาย เปลือกผลมีหนามแข็งเล็ก ผลหนึ่ง ๆ มี 2-3 กลีบ เป็นส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้ออ่อน บาง กลิ่นหอม ฉ่ำน้ำ การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้น ประโยชน์ : ผลรับประทาน และนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำพริก ต้มยำ ต้มส้ม ข้าวยำ และอาหารหวาน  ก้านใบเมื่อลิดเอาหนามออกใช้กั้นทำเป็นฝาบ้าน  เนื้อไม้ ใช้ทำจุกขวดน้ำได้ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ระกำ ชื่อสามัญ : rakam ชื่อท้องถิ่น : เจาะละก่า (ตราด), ระกำ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacca wallichiana Mart. ชื่อวงศ์ : ARECACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบยาวเป็นทาง ลำต้นมีหนามแหลมยาว    ผลเป็นทะลาย เปลือกผลมีหนามแข็งเล็ก ผลหนึ่ง ๆ มี 2-3 กลีบ เป็นส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้ออ่อน บาง กลิ่นหอม ฉ่ำน้ำ  การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้น ประโยชน์ : ระกำรับประทานเป็นผลไม้สด และนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำพริก ต้มยำ ต้มส้ม ข้าวยำ และอาหารหวาน ไม้ของต้นระกำเมื่อลิดเอาหนามออกใช้กั้นทำเป็นฝาบ้าน ปอกเปลือกไม้ระกำออก เนื้อของไม้ระกำ ใช้ทำจุกขวดน้ำได้ ผิวระกำนำมาสกัดน้ำมันระกำได้ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
มะไฟกา ชื่อสามัญ : Chinese lantern tree ชื่อท้องถิ่น : ส้มไฟป่า, ส้มไฟดิน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea parviflora (Müll. Arg.) Müll. Arg. ชื่อวงศ์ :, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ดอกช่อออกที่ลำต้นและปลายกิ่งเป็นช่อ    ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีขนสีขาวปกคลุม ดอกตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า ผลกลม เปลือกหุ้มเหนียวและหนา แก่แล้วผลเป็นสีแดงแกมม่วง เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยว เมล็ดกลมแบน  การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้น ประโยชน์ : ผลสุกรับประทานสด มีวิตามินซีสูง สรรพคุณช่วยขับเสมหะ รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ รากแก้พิษตานซาง แก้วัณโรค ฝี ดับพิษร้อนและเริม ลดอาการอักเสบ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
กะแซะ ชื่อสามัญ : Purple Millettia ชื่อท้องถิ่น : กะแซะ  ยีนิเก๊ะ แซะ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callerya atropurpurea Benth ชื่อวงศ์ : FABACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ รูปดอกถั่ว สีแดงแกมม่วงทึบ กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นฝัก สีน้ำตาล กลมรี การกระจายพันธุ์ : พบทั่วทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระคับความสูงจนถึง 1200 เมตร ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่ได้รับความนิยม เพราะเนื้อไม้เป็นที่ชอบของมอดและแมลง โดยมากมักใช้ทำฝืนและถ่าน ยอดอ่อนนิยมรับประทานเป็นผักสด การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ส้านใบใหญ่ ชื่อสามัญ : san yai ชื่อท้องถิ่น : ส้านใหญ่ (สุราษฏ์ธานี) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dillenia obovata (Blume) Hoogland ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ไม้ต้น ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ  ก้านใบมักแผ่เป็นครีบ  ดอกสมบูรณ์เพศ เกิดรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง  กลีบรองดอกมี 5 กลีบ รังไข่มักเรียงชิดกัน  โดยเวียนรอบจุดศูนย์กลางของดอก  รังไข่แต่ละหน่วยมักมีไข่อ่อนจำนวนมาก ผลสดและผลแห้งและมักจะถูกห่อหุ้มอยู่ภายในกลีบรองดอกที่ขยายใหญ่ขึ้น  เมล็ดขนาดเล็ดและมักมีเยื่อหุ้ม การกระจายพันธุ์ : พบทุกภาคของประเทศ ประโยชน์ : ผลแก่ รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
รูปภาพ
เชียด ชื่อสามัญ : kradang nga , chiat , Wild cinnamon ชื่อท้องถิ่น : กระแจะโมง (ยะลา) กระดังงา  (กาญจนบุรี) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume ชื่อวงศ์ : LAURACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :  ไม้ต้นสูง 15 – 20 เมตร เปลือกและใบมีกลิ่นหอมคล้ายอบเชย ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูป ขอบขนาน เนื้อใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถึงปลายใบ  ดอกเล็ก สีเหลือง ผล  รูปขอบขนาน แข็ง ตามผิวมีคราบขาว ๆ การกระจายพันธุ์ : พบตามพื้นที่ป่าทั่วไป ประโยชน์ : เปลือกแก้อ่อนขับลม แก้ปวดศีรษะ บำรุงกำลัง เปลือกต้ม แก้โรคหนองใน และน้ำคาวปลา ใบปรุงเป็น ยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
เมา ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : หว้าดง กะเมา ชะเมา ยามูยิมมา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium grandis (Wight) Walp. ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 20-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลม เปลือกสีเทาแกมขาว ผิวขรุขระและมักแตกเป็นสะเก็ดหนา ใบ ใบรูปรีถึงรูปรีแกมขนาน  ดอกสีขาว เกิดเป็นช่อแยกแขนงสั้นๆตามง่ามใบและปลายกิ่ง  ผล ผลจะกลมรีจนถึงรูปขอบขนานแก่สุกสีเขียว การกระจายพันธุ์ : พบได้ตามป่าดิบชื่นตามแนวชายฝั่งทะเล  ต่างประเทศสามารถพบได้ตามภูมิภาคอินโดจีน จนไปถึงบอร์เนียว ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งและมีน้ำหนักมาก เหมาะแก่การสร้างบ้านเรือน การขยายพันธุ์  : เพาะเมล็ด การติดตา การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง และการตอน       ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
      กะออก ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : กะออก กะเอาะ ตือกะ เอาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus elasticus Reinw. ex Blume ชื่อวงศ์ : MORACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : สูง  25-40  เมตร  เรือนยอดค่อนข้างกลมถึงแผ่กว้าง  เปลือกสีน้ำตาลเทา  เรียบหรือแตกสะเก็ด  เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อน  แผ่นใบ  รูปรี  ผิวใบมีขนหยาบสากมือทั้งสองด้านปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ดอก  ออกเป็นช่อชิดกันเป็นแท่งตามง่ามใบ  ผล  รูปทรงกระบอก ผิวผลเป็นปุ่มปมเรียว  สั้นยาวไม่เท่ากัน  และมีขนสากมือ  เมื่อแก่สุกสีน้ำตาลแกมเหลือง การกระจายพันธุ์ : พบในป่าที่ลุ่มต่ำใกล้ลำธาร  ตามขอบพรุ  และบางครั้งพบในป่าพรุทางภาคใต้ของประเทศไทย  ในต่างประเทศพบที่พม่า  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  และฟิลิปปินส์ ประโยชน์ : ใช้เปลือกทุบเป็นแถบพันแก้ปวดเอวใช้ใบผสมกับข้าวกินแก้วัณโรคและใช้ยางบำบัดโรคบิด การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด                                       ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
   ปลาไหลเผือก ชื่อสามัญ :  - ชื่อท้องถิ่น : กรุงบาดาล ตรึงบาดาล คะนาง ขะนาง ตุงสอ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia Jack ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ ดอกสีม่วงแดง ก้านช่อดอกสีแดง ผล รูปกลมรี ออกเป็นพวง ผิวเรียบ ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง เมล็ดเดี่ยว การกระจายพันธุ์ : เขตการกระจายพันธุ์ในเฉพาะในลาวและกัมพูชา ในไทยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นหนาแน่นในป่าเต็งรังโปร่งที่เป็นทุ่งหญ้า ระดับความสูงจนถึงประมาณ 300 เมตร ประโยชน์ : ราก รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษต่างๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้ ตัดไข้ทุกชนิด ใช้เป็นยาตัดไข้ ใช้รับประทานแก้วัณโรคในระยะบวมขึ้น การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง             ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
เลือดแรด ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : กระเบาเลือด มะเลือด สีซวง ชิงชอง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Knema globularia (Lam.) Warb. ชื่อวงศ์ : MYRISTICACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้น สูง10–25 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง เปลือกแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาล หรือสีเทาเข้ม เปลือกชั้นในสีชมพูใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปใบหอก ถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีขาวนวล ดอก เล็ก สีเหลืองนวล ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและตามง่ามใบ ผล ค่อนข้างกลม ถึงกลมรี เมื่อแก่สีส้ม แตกออกเป็น 2 ซีก มี 1 เมล็ด การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้น ที่ลุ่มน้ำขังป่าพรุ และป่าชายหาด ทั่วทุกภาคของไทย และพบที่จีน (ตอนใต้) มาเลเซีย ภูมิภาคอินโดจีน พม่าตอนใต้ สุมาตรา ประโยชน์ : น้ำมันจากเมล็ดใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคผิวหนังและใช้ทำสบู่ยา เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือน การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด            ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
สะท้อนรอก ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : ทอนรอก ทะรอก ลูกกระรอกบานด่าน สมอพัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeocarpus robustus Roxb. ชื่อวงศ์ : ELAEOCARPACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น  สูง  20-30  เมตร  เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลมบางครั้งแผ่กว้าง  ลำต้นกลม  บางครั้งมีพูพอนแคบ ๆ เปลือกสีน้ำตาลเทา  เรียบ  หรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ  ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนสีเทาคลุม  แผ่นใบ  รูปรี  รูปไข่  ถึงรูปขอบขนาน ด้านบนเกลี้ยง  ด้านล่างมีขนสั้น ๆ สากมือ ปลายใบเรียวแหลม  โคนใบสอบถึงมน  ขอบใบหยัก งอทำมุมกับแผ่นใบ  ดอก  สีขาวนวล  ปลายกลีบดอกจักเป็นฝอย  ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง  ผล  รูปกลมรี  เนื้อแข็ง มีขนสีน้ำตาลเทาคลุมหนาแน่น การกระจายพันธุ์ : พบตามป่าพรุและป่าดิบชื้น ที่ความสูงระดับตํ่าจนถึง 800 ม. จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ : ผล เป็นอาหารสัตว์ เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างภายใน อาคารบ้านเรือน การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
      เทพธาโร ชื่อสามัญ : citronella laurel , true laurel ชื่อท้องถิ่น : จวงหอม เทพทาโร ปูต้น ไม้การบูร จะไค้ต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. ชื่อวงศ์ : LAURACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่ รูปรีแกมรูปไข่ หรือบางทีรูปไข่แกมรูปขอบขนานออกเรียงสลับกัน ท้องใบเป็นคราบขาว ผิวเกลี้ยง ปลายแหลม โคนแหลมหรือกลม ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อ เป็นกระจุก ผลกลม เล็ก สีเขียวผลแก่มีสีม่วงดำ การกระจายพันธุ์ : แถบเอเชียเขตร้อน ตั้งแต่เทือกเขาตะนาวศรีในพม่า ไทย มลายู จนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา ประโยชน์ : ดอก รากและเนื้อไม้มีกลิ่นหอก รากและเนื้อไม้ต้มกินน้ำ แก้วิงเวียน เหน็บชา บำรุงเลือด  เปลือก เป็นยาบำรุงธาตุอย่างดี โดยเฉพาะสำหรับหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและปักชำ  ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
      ปาล์มชวา ชื่อสามัญ : Anahaw palm, Java palm ชื่อท้องถิ่น : ยะวา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Livistona  rotundifolia (Lam.) Mart. ชื่อวงศ์ : ARECACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ปาล์มต้นเดี่ยวลำต้นขนาด 20 ซม. ใบเดี่ยวรูปพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 1.5 เมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน แตกใบย่อย จักเว้าลึกน้อยกว่าครึ่งตัวใบ ก้านใบสีเขียว ขอบก้านใบมีหนามแข็งสีครีม เหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวประมาณ 2 เมตร ผล : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกลม ผลแก่สีส้ม การกระจายพันธุ์ : ตอนใต้ของประเทศไทย และตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ประโยชน์ :ใช้เป็นไม้ประดับ และจัดเป็นไม้หายาก การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
ตีนเป็ดทะเล ชื่อ สามัญ : Grey milkwood, Pong pong tree, Sea mango, Suicide tree   ชื่อ ท้องถิ่น : ตีนเป็ด  , ตีนเป็ดน้ำ  , ตุม , สั่งลา  ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Cerbera odollam Gaertn . ชื่อ วงศ์ : APOCYNACEAE — ลักษณะเด่น : ไม้ต้น สูงประมาณ 12 เมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ดอก ช่อ สีขาวกลีบดอกเรียงซ้อนทับกัน แยกแขนงตามปลายกิ่ง ผล กลมหรือรูปไข่   — การกระจายพันธุ์ : ศรี ลังกา มาเลเซีย ประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ — ประโยชน์ : เปลือก ต้นเป็นยาถ่าย ใบรักษาโรค ผิวหนังกลากเกลื้อน  ที่มา:http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=ตีนเป็ดทะเล
ชะมวงกวาง ชื่อสามัญ :  Cicada tree ชื่อท้องถิ่น : มวงกวาง , ส้มกวาง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ploiarium alternifolium (Vahl) Melch. ชื่อวงศ์ : BONNETIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับหรือเวียนรอบกิ่ง ดอก ช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง  กลีบรองดอก  5 กลีบ ขอบกลีบเกยกันกลีบดอก 5 กลีบ  ขอบกลีบเกยซ้อนและพับคล้ายกังหัน เกสรเพศผู้มีมาก  รังไข่อยู่เหนือกลีบรองดอก มี  3-5  หน่วย ก้านชูเกสรเพศเมีย แยกหรือบางครั้งรวมกัน  มีไข่อ่อนมาก  ผล  ชนิดแห้งแล้วแตกจากโคนมาหาปลาย การกระจายพันธุ์ : เวียดนาม กัมพูชา ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว อินโดนีเซีย ประโยชน์ :   ยอดอ่อน,ใบอ่อน มีรสเปรี้ยวช่วยระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
รูปภาพ
ทุ้งฟ้า ชื่อ สามัญ : Hard Alstonia, Hard milkwood, ชื่อ ท้องถิ่น : กระทุ้งฟ้าไห้  , ตีนเทียน  , ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Alstonia macrophylla Wall . ชื่อ วงศ์ : APOCYNACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ยืน ต้น สูง 15-25 เมตร  ลำต้นเปลา ตรง โคนต้นเป็นพูพอน  กิ่ง ใหญ่ตั้งฉาก กับ          ลำ ต้นเป็นวงรอบ  ใบ เดี่ยว ท้องใบเป็นคราบสีขาว ดอก ช่อ สี ขาว  ผลฝัก เรียว ยาว เมื่อแก่ จะแตกและบิดเป็นเกลียว ปล่อยให้เมล็ดที่มีพู่สีขาวปลิวไปตาม ลม การ กระจายพันธุ์: มาเลเซีย และ พม่า ประโยชน์ : เนื้อ ไม้  ใช้ทำกระดานพื้น ฝา รองเท้าไม้ หีบ และลังใส่ของ เครื่องเรือน เปลือก ใช้ แก้ไข้ บำรุง รักษาโรคมาเลเรีย แก้บิด ขับระดู  ที่มา:http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?