บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017
หลุมพี ชื่อสามัญ : Asam paya ชื่อท้องถิ่น : กระลูบี, ลุบี (นราธิวาส) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleiodoxa conferta (Griff.) Burret ชื่อวงศ์ : ARECACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบยาวเป็นทาง ลำต้นมีหนามแหลมยาว    ผลเป็นทะลาย เปลือกผลมีหนามแข็งเล็ก ผลหนึ่ง ๆ มี 2-3 กลีบ เป็นส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้ออ่อน บาง กลิ่นหอม ฉ่ำน้ำ การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้น ประโยชน์ : ผลรับประทาน และนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำพริก ต้มยำ ต้มส้ม ข้าวยำ และอาหารหวาน  ก้านใบเมื่อลิดเอาหนามออกใช้กั้นทำเป็นฝาบ้าน  เนื้อไม้ ใช้ทำจุกขวดน้ำได้ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ระกำ ชื่อสามัญ : rakam ชื่อท้องถิ่น : เจาะละก่า (ตราด), ระกำ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacca wallichiana Mart. ชื่อวงศ์ : ARECACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ต้นหรือเหง้าเตี้ย ยอดแตกเป็นกอ ใบยาวเป็นทาง ลำต้นมีหนามแหลมยาว    ผลเป็นทะลาย เปลือกผลมีหนามแข็งเล็ก ผลหนึ่ง ๆ มี 2-3 กลีบ เป็นส่วนมากเมื่อดิบมีรสฝาดและเปรี้ยว เมื่อสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว เนื้ออ่อน บาง กลิ่นหอม ฉ่ำน้ำ  การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้น ประโยชน์ : ระกำรับประทานเป็นผลไม้สด และนำมาปรุงรสเปรี้ยวในอาหาร เช่น น้ำพริก ต้มยำ ต้มส้ม ข้าวยำ และอาหารหวาน ไม้ของต้นระกำเมื่อลิดเอาหนามออกใช้กั้นทำเป็นฝาบ้าน ปอกเปลือกไม้ระกำออก เนื้อของไม้ระกำ ใช้ทำจุกขวดน้ำได้ ผิวระกำนำมาสกัดน้ำมันระกำได้ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
มะไฟกา ชื่อสามัญ : Chinese lantern tree ชื่อท้องถิ่น : ส้มไฟป่า, ส้มไฟดิน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea parviflora (Müll. Arg.) Müll. Arg. ชื่อวงศ์ :, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ดอกช่อออกที่ลำต้นและปลายกิ่งเป็นช่อ    ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีขนสีขาวปกคลุม ดอกตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า ผลกลม เปลือกหุ้มเหนียวและหนา แก่แล้วผลเป็นสีแดงแกมม่วง เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยว เมล็ดกลมแบน  การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้น ประโยชน์ : ผลสุกรับประทานสด มีวิตามินซีสูง สรรพคุณช่วยขับเสมหะ รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ รากแก้พิษตานซาง แก้วัณโรค ฝี ดับพิษร้อนและเริม ลดอาการอักเสบ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki
กะแซะ ชื่อสามัญ : Purple Millettia ชื่อท้องถิ่น : กะแซะ  ยีนิเก๊ะ แซะ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callerya atropurpurea Benth ชื่อวงศ์ : FABACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ รูปดอกถั่ว สีแดงแกมม่วงทึบ กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นฝัก สีน้ำตาล กลมรี การกระจายพันธุ์ : พบทั่วทุกภาค ขึ้นตามป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระคับความสูงจนถึง 1200 เมตร ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่ได้รับความนิยม เพราะเนื้อไม้เป็นที่ชอบของมอดและแมลง โดยมากมักใช้ทำฝืนและถ่าน ยอดอ่อนนิยมรับประทานเป็นผักสด การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ส้านใบใหญ่ ชื่อสามัญ : san yai ชื่อท้องถิ่น : ส้านใหญ่ (สุราษฏ์ธานี) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dillenia obovata (Blume) Hoogland ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ไม้ต้น ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับ  ก้านใบมักแผ่เป็นครีบ  ดอกสมบูรณ์เพศ เกิดรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง  กลีบรองดอกมี 5 กลีบ รังไข่มักเรียงชิดกัน  โดยเวียนรอบจุดศูนย์กลางของดอก  รังไข่แต่ละหน่วยมักมีไข่อ่อนจำนวนมาก ผลสดและผลแห้งและมักจะถูกห่อหุ้มอยู่ภายในกลีบรองดอกที่ขยายใหญ่ขึ้น  เมล็ดขนาดเล็ดและมักมีเยื่อหุ้ม การกระจายพันธุ์ : พบทุกภาคของประเทศ ประโยชน์ : ผลแก่ รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
รูปภาพ
เชียด ชื่อสามัญ : kradang nga , chiat , Wild cinnamon ชื่อท้องถิ่น : กระแจะโมง (ยะลา) กระดังงา  (กาญจนบุรี) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume ชื่อวงศ์ : LAURACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :  ไม้ต้นสูง 15 – 20 เมตร เปลือกและใบมีกลิ่นหอมคล้ายอบเชย ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูป ขอบขนาน เนื้อใบหนา เกลี้ยง แข็ง และกรอบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถึงปลายใบ  ดอกเล็ก สีเหลือง ผล  รูปขอบขนาน แข็ง ตามผิวมีคราบขาว ๆ การกระจายพันธุ์ : พบตามพื้นที่ป่าทั่วไป ประโยชน์ : เปลือกแก้อ่อนขับลม แก้ปวดศีรษะ บำรุงกำลัง เปลือกต้ม แก้โรคหนองใน และน้ำคาวปลา ใบปรุงเป็น ยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
เมา ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : หว้าดง กะเมา ชะเมา ยามูยิมมา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium grandis (Wight) Walp. ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูง 20-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลม เปลือกสีเทาแกมขาว ผิวขรุขระและมักแตกเป็นสะเก็ดหนา ใบ ใบรูปรีถึงรูปรีแกมขนาน  ดอกสีขาว เกิดเป็นช่อแยกแขนงสั้นๆตามง่ามใบและปลายกิ่ง  ผล ผลจะกลมรีจนถึงรูปขอบขนานแก่สุกสีเขียว การกระจายพันธุ์ : พบได้ตามป่าดิบชื่นตามแนวชายฝั่งทะเล  ต่างประเทศสามารถพบได้ตามภูมิภาคอินโดจีน จนไปถึงบอร์เนียว ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็งและมีน้ำหนักมาก เหมาะแก่การสร้างบ้านเรือน การขยายพันธุ์  : เพาะเมล็ด การติดตา การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง และการตอน       ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
      กะออก ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : กะออก กะเอาะ ตือกะ เอาะ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus elasticus Reinw. ex Blume ชื่อวงศ์ : MORACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : สูง  25-40  เมตร  เรือนยอดค่อนข้างกลมถึงแผ่กว้าง  เปลือกสีน้ำตาลเทา  เรียบหรือแตกสะเก็ด  เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อน  แผ่นใบ  รูปรี  ผิวใบมีขนหยาบสากมือทั้งสองด้านปลายใบแหลม  โคนใบสอบ  ดอก  ออกเป็นช่อชิดกันเป็นแท่งตามง่ามใบ  ผล  รูปทรงกระบอก ผิวผลเป็นปุ่มปมเรียว  สั้นยาวไม่เท่ากัน  และมีขนสากมือ  เมื่อแก่สุกสีน้ำตาลแกมเหลือง การกระจายพันธุ์ : พบในป่าที่ลุ่มต่ำใกล้ลำธาร  ตามขอบพรุ  และบางครั้งพบในป่าพรุทางภาคใต้ของประเทศไทย  ในต่างประเทศพบที่พม่า  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  และฟิลิปปินส์ ประโยชน์ : ใช้เปลือกทุบเป็นแถบพันแก้ปวดเอวใช้ใบผสมกับข้าวกินแก้วัณโรคและใช้ยางบำบัดโรคบิด การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด                                       ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
   ปลาไหลเผือก ชื่อสามัญ :  - ชื่อท้องถิ่น : กรุงบาดาล ตรึงบาดาล คะนาง ขะนาง ตุงสอ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia Jack ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ปลายใบเรียวแหลม แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ ดอกสีม่วงแดง ก้านช่อดอกสีแดง ผล รูปกลมรี ออกเป็นพวง ผิวเรียบ ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง เมล็ดเดี่ยว การกระจายพันธุ์ : เขตการกระจายพันธุ์ในเฉพาะในลาวและกัมพูชา ในไทยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นหนาแน่นในป่าเต็งรังโปร่งที่เป็นทุ่งหญ้า ระดับความสูงจนถึงประมาณ 300 เมตร ประโยชน์ : ราก รสขมจัด เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษต่างๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้ ตัดไข้ทุกชนิด ใช้เป็นยาตัดไข้ ใช้รับประทานแก้วัณโรคในระยะบวมขึ้น การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง             ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
เลือดแรด ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : กระเบาเลือด มะเลือด สีซวง ชิงชอง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Knema globularia (Lam.) Warb. ชื่อวงศ์ : MYRISTICACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้น สูง10–25 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง เปลือกแตกเป็นสะเก็ด สีน้ำตาล หรือสีเทาเข้ม เปลือกชั้นในสีชมพูใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปใบหอก ถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีขาวนวล ดอก เล็ก สีเหลืองนวล ออกเป็นกระจุกตามกิ่งและตามง่ามใบ ผล ค่อนข้างกลม ถึงกลมรี เมื่อแก่สีส้ม แตกออกเป็น 2 ซีก มี 1 เมล็ด การกระจายพันธุ์ : ป่าดิบชื้น ที่ลุ่มน้ำขังป่าพรุ และป่าชายหาด ทั่วทุกภาคของไทย และพบที่จีน (ตอนใต้) มาเลเซีย ภูมิภาคอินโดจีน พม่าตอนใต้ สุมาตรา ประโยชน์ : น้ำมันจากเมล็ดใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคผิวหนังและใช้ทำสบู่ยา เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือน การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด            ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
สะท้อนรอก ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : ทอนรอก ทะรอก ลูกกระรอกบานด่าน สมอพัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeocarpus robustus Roxb. ชื่อวงศ์ : ELAEOCARPACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น  สูง  20-30  เมตร  เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลมบางครั้งแผ่กว้าง  ลำต้นกลม  บางครั้งมีพูพอนแคบ ๆ เปลือกสีน้ำตาลเทา  เรียบ  หรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ  ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนสีเทาคลุม  แผ่นใบ  รูปรี  รูปไข่  ถึงรูปขอบขนาน ด้านบนเกลี้ยง  ด้านล่างมีขนสั้น ๆ สากมือ ปลายใบเรียวแหลม  โคนใบสอบถึงมน  ขอบใบหยัก งอทำมุมกับแผ่นใบ  ดอก  สีขาวนวล  ปลายกลีบดอกจักเป็นฝอย  ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง  ผล  รูปกลมรี  เนื้อแข็ง มีขนสีน้ำตาลเทาคลุมหนาแน่น การกระจายพันธุ์ : พบตามป่าพรุและป่าดิบชื้น ที่ความสูงระดับตํ่าจนถึง 800 ม. จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ : ผล เป็นอาหารสัตว์ เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างภายใน อาคารบ้านเรือน การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
      เทพธาโร ชื่อสามัญ : citronella laurel , true laurel ชื่อท้องถิ่น : จวงหอม เทพทาโร ปูต้น ไม้การบูร จะไค้ต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. ชื่อวงศ์ : LAURACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่ รูปรีแกมรูปไข่ หรือบางทีรูปไข่แกมรูปขอบขนานออกเรียงสลับกัน ท้องใบเป็นคราบขาว ผิวเกลี้ยง ปลายแหลม โคนแหลมหรือกลม ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อ เป็นกระจุก ผลกลม เล็ก สีเขียวผลแก่มีสีม่วงดำ การกระจายพันธุ์ : แถบเอเชียเขตร้อน ตั้งแต่เทือกเขาตะนาวศรีในพม่า ไทย มลายู จนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา ประโยชน์ : ดอก รากและเนื้อไม้มีกลิ่นหอก รากและเนื้อไม้ต้มกินน้ำ แก้วิงเวียน เหน็บชา บำรุงเลือด  เปลือก เป็นยาบำรุงธาตุอย่างดี โดยเฉพาะสำหรับหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและปักชำ  ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
      ปาล์มชวา ชื่อสามัญ : Anahaw palm, Java palm ชื่อท้องถิ่น : ยะวา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Livistona  rotundifolia (Lam.) Mart. ชื่อวงศ์ : ARECACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ปาล์มต้นเดี่ยวลำต้นขนาด 20 ซม. ใบเดี่ยวรูปพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 1.5 เมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน แตกใบย่อย จักเว้าลึกน้อยกว่าครึ่งตัวใบ ก้านใบสีเขียว ขอบก้านใบมีหนามแข็งสีครีม เหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวประมาณ 2 เมตร ผล : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกลม ผลแก่สีส้ม การกระจายพันธุ์ : ตอนใต้ของประเทศไทย และตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ประโยชน์ :ใช้เป็นไม้ประดับ และจัดเป็นไม้หายาก การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
ตีนเป็ดทะเล ชื่อ สามัญ : Grey milkwood, Pong pong tree, Sea mango, Suicide tree   ชื่อ ท้องถิ่น : ตีนเป็ด  , ตีนเป็ดน้ำ  , ตุม , สั่งลา  ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Cerbera odollam Gaertn . ชื่อ วงศ์ : APOCYNACEAE — ลักษณะเด่น : ไม้ต้น สูงประมาณ 12 เมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ดอก ช่อ สีขาวกลีบดอกเรียงซ้อนทับกัน แยกแขนงตามปลายกิ่ง ผล กลมหรือรูปไข่   — การกระจายพันธุ์ : ศรี ลังกา มาเลเซีย ประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้ — ประโยชน์ : เปลือก ต้นเป็นยาถ่าย ใบรักษาโรค ผิวหนังกลากเกลื้อน  ที่มา:http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?linkback=localname&localname=ตีนเป็ดทะเล
ชะมวงกวาง ชื่อสามัญ :  Cicada tree ชื่อท้องถิ่น : มวงกวาง , ส้มกวาง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ploiarium alternifolium (Vahl) Melch. ชื่อวงศ์ : BONNETIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :   ไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับหรือเวียนรอบกิ่ง ดอก ช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง  กลีบรองดอก  5 กลีบ ขอบกลีบเกยกันกลีบดอก 5 กลีบ  ขอบกลีบเกยซ้อนและพับคล้ายกังหัน เกสรเพศผู้มีมาก  รังไข่อยู่เหนือกลีบรองดอก มี  3-5  หน่วย ก้านชูเกสรเพศเมีย แยกหรือบางครั้งรวมกัน  มีไข่อ่อนมาก  ผล  ชนิดแห้งแล้วแตกจากโคนมาหาปลาย การกระจายพันธุ์ : เวียดนาม กัมพูชา ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว อินโดนีเซีย ประโยชน์ :   ยอดอ่อน,ใบอ่อน มีรสเปรี้ยวช่วยระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
รูปภาพ
ทุ้งฟ้า ชื่อ สามัญ : Hard Alstonia, Hard milkwood, ชื่อ ท้องถิ่น : กระทุ้งฟ้าไห้  , ตีนเทียน  , ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Alstonia macrophylla Wall . ชื่อ วงศ์ : APOCYNACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ยืน ต้น สูง 15-25 เมตร  ลำต้นเปลา ตรง โคนต้นเป็นพูพอน  กิ่ง ใหญ่ตั้งฉาก กับ          ลำ ต้นเป็นวงรอบ  ใบ เดี่ยว ท้องใบเป็นคราบสีขาว ดอก ช่อ สี ขาว  ผลฝัก เรียว ยาว เมื่อแก่ จะแตกและบิดเป็นเกลียว ปล่อยให้เมล็ดที่มีพู่สีขาวปลิวไปตาม ลม การ กระจายพันธุ์: มาเลเซีย และ พม่า ประโยชน์ : เนื้อ ไม้  ใช้ทำกระดานพื้น ฝา รองเท้าไม้ หีบ และลังใส่ของ เครื่องเรือน เปลือก ใช้ แก้ไข้ บำรุง รักษาโรคมาเลเรีย แก้บิด ขับระดู  ที่มา:http://www.dnp.go.th/botany/mplant/word.aspx?
สะเตียว ชื่อ สามัญ : sa tiao ชื่อ ท้องถิ่น : สะเตียว ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Madhuca motleyana (de Vriese) J. F. Macbr . ชื่อ วงศ์ : SAPOTACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์   :  ไม้ ต้น สูง 20-35 เมตร ลำ ต้นกลม  เปลาตรง เปลือก นอกสีน้ำตาล เทา ใบรูป รี  ปลาย ใบเป็นติ่งแหลมถึงเรียว แหลม ใบ เกลี้ยง ดอก  ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบและตาม กิ่ง ผลรูป กลมแกมรูปขอบ ขนาน ปลาย แหลม มี  1-2  เมล็ด การ กระจายพันธุ์ : พบขึ้นในป่าพรุและในป่าที่ลุ่มน้ำขังทางภาคใต้ของประเทศ ไทย ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายในอาคาร บ้านเรือนและ ทำเรือ ขุด การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด    ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
เทพธา โร ชื่อ สามัญ : citronella laurel , true laurel ชื่อ ท้องถิ่น : จวงหอม เทพทาโร ปูต้น ไม้การบูร จะไค้ต้น ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Cinnamomum porrectum ( Roxb .) Kosterm . ชื่อ วงศ์ : LAURACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน รูปไข่ รูปรีแกมรูปไข่ หรือบางทีรูปไข่แกมรูปขอบขนานออกเรียงสลับกัน ท้องใบเป็นคราบขาว ผิวเกลี้ยง ปลายแหลม โคนแหลมหรือกลม ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อ เป็นกระจุก ผลกลม เล็ก สีเขียวผลแก่มีสีม่วงดำ การ กระจายพันธุ์ :   แถบเอเชียเขตร้อน ตั้งแต่เทือกเขาตะนาวศรีในพม่า ไทย มลายู จนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา ประโยชน์ : ดอก รากและเนื้อไม้มีกลิ่นหอก รากและเนื้อไม้ต้มกินน้ำ แก้วิงเวียน เหน็บชา บำรุงเลือด  เปลือก เป็นยาบำรุงธาตุอย่างดี โดยเฉพาะสำหรับหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและปักชำ        ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ปาล์มชวา ชื่อ สามัญ : Anahaw palm, Java palm ชื่อท้องถิ่น : ยะวา ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Livistona   rotundifolia (Lam.) Mart. ชื่อวงศ์ : ARECACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ :  ปาล์มต้นเดี่ยวลำต้นขนาด 20 ซม. ใบเดี่ยวรูปพัด เรียงสลับ กว้างประมาณ 1.5 เมตร แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน แตกใบย่อย จักเว้าลึกน้อยกว่าครึ่งตัวใบ ก้านใบสีเขียว ขอบก้านใบมีหนามแข็งสีครีม เหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ช่อดอกยาวประมาณ 2 เมตร ผล : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกลม ผลแก่สีส้ม การกระจายพันธุ์ : ตอนใต้ของประเทศไทย และตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ประโยชน์ :ใช้เป็นไม้ประดับ และจัดเป็นไม้หายาก การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด    ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
  ยางมันหมู ชื่อ สามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : ยางมันข้น (ใต้) ยางมัน ใส ยาง วัด ละกู วิง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dipterocarpus kerrii King ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ : ต้น เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นเปลาตรง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นถึงเรียวแหลม โคนสอบเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย  ดอกมีสีครีมครึ่งล่างมีสีชมพู ออกรวมกันเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ผลจะมีปีกใหญ่ 2 ปีกเป็นแถบเรียวไปยังปลายทู่ การ กระจายพันธุ์ : การกระจายพันธุ์สามารถพบได้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์ : ยางสามารถนำมาทำไต้ (คบเพลิง) ชันดักนก เนื้อไม้ ใช้แปรรูปในการก่อสร้างบ้านเรือนและเครื่อง     เรือน  การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด                 ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
  เฉียงพร้า นางแอ่น ชื่อ สามัญ :  - ชื่อ ท้องถิ่น : คอแห้ง ,เขียงฟ้า ,เขียงพร้า นาง แอ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carallia brachiata ( Lour .) Merr . ชื่อวงศ์ : RHIZOPHORACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น เปลือกต้นเป็นสีดำและขรุขระเล็กน้อย ใบเดี่ยว ออกใบสลับกันไปตามลำต้น มีสีเขียว มีเนื้อที่แข็ง ใบดกและหนาทึบ ดอกออกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของลำต้น ดอก นี้มีขนาดเล็ก และมีสีเขียวเหลืองๆ การ กระจายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชื้นสูง มักขึ้นตามป่าดิบชื้นและที่ลุ่มชื้นแฉะ มาดากัสการ์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์ : เนื้อไม้เฉียงพร้านางแอ เป็นไม้ที่คงทนแข็งแรงและมีลายไม้ที่สวยงาม จึงนำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปได้ดี หรือทำเป็นเครื่องมือทางการเกษตรก็ได้ ทำเฟอร์นิเจอร์ การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง      ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
เถาสะบ้าช้าง ชื่อ สามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : มะ นิม หมากงิม สะบ้าหลวง มะบ้า มะบ้า หลวง ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Entada rheedii Spreng . ชื่อ วงศ์ : FABACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่  ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก สองชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับ ปลายใบ ดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ออกเป็นช่อแกน ดอกย่อยขนาดเล็ก รูปรีแคบ ถึงรูปหอก ผล เป็นฝัก รูปขอบขนานตรง หรือโค้ง เปลือกผลแข็งเป็นเนื้อไม้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด  ผิวมันเรียบ การ กระจายพันธุ์ : พบในเขตร้อนของทวีป แอฟริกา ทวีปเอเชียและอินโดเนเซีย ประเทศไทยพบทุกภาค ขึ้นพันไม้อื่นริมลำธารบริเวณป่าดงดิบ ประโยชน์ : ใช้ส่วนเปลือกกำจัด หมัด เหา ทำแชมพู เถาใช้ทำเชือก การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด              ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
เต่าร้างแดง ชื่อ สามัญ : Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm ชื่อท้องถิ่น : เต่าร้างแดง เชื่องหมู่ มะเด็งงือเด็ง ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Caryota mitis Lour . ชื่อ วงศ์ : ARECACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ : เต่าร้างเป็นไม้จำพวกปาล์ม ลำต้นตั้งตรงสูง มีกาบหุ้มลำต้น เปลือกต้นสีเขียวเทา ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปพัดปลายใบเป็นแฉกแบบหางปลา ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ เกิดตามด้านข้างของลำต้น ดอกมีขนาดเล็กสีขาวครีม ผล กรม สีเขียวแกมเหลือง แก่จัดสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ การ กระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์ : ยอดอ่อนแกงหรือต้มเป็นอาหารราก ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ แก้หัวใจพิการ แก้ตับทรุด หัว ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ บำรุงตับ แก้กาฬขึ้นที่ตับ    แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน บำรุงหัวใจ  การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด  และหน่อ                    ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
กะอาม ชื่อ สามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : สอม กระทงลอย ขี้มด กา ซ้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crypteronia paniculata Blume ชื่อวงศ์ : CRYPTERONIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้นไม้ยืนต้นสูง 10-30ม. ใบ ใบเดี่ยว  เรียงสลับ รูปไข่แกมวงรีแกม ใบหอก กว้าง 4-11 ซ.ม. ยาว10-25 ซ.ม. ดอก ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ห้อยลง ไม่มีกลีบดอก ผล ผลแห้งแตก รูปเกือบกลม แตกตามพูเป็น 2 ฝา เมล็ด รูปกระสวย การกระจายพันธุ์ : สามารถพบได้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ขึ้นตามที่ชื้นในป่าเบญจพรรณและชายป่าดิบ หรือป่าดิบที่เคยถูกแผ้วถางมาก่อน บนพื้นที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก ประโยชน์ : ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน เนื้อไม้ใช้ทำผาผนังหรือพื้นเพดาน การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด        ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
จั๋งไทย ชื่อ สามัญ :  Slender Lady Palm ชื่อ ท้องถิ่น : จั๋ง ใต้ (ภาคใต้) จั๋งไทย ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Rhapis subtilis   Becc . ชื่อ วงศ์ : ARECACEAE ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ : ปาล์มแตกกอ คล้ายคลึงกับจั๋งจีน ลำต้น มีขนาดเล็กกว่าจั๋งจีน คือ 1-2 เซนติเมตร และสูงเพียง 2 เมตร ถ้าต้นเล็กและสูงมากขึ้นแล้วลำต้นจะทอดเอียง มีแผ่นใยบางๆคลุมลำต้นสีน้ำตาล  ขนาดของลำต้น ใบ และจำนวนใบย่อยมีความหลากหลายใบ แผ่นใบเล็กและมีจักใบย่อยเพียง  6-12 ใบ จักเว้าลึกถึงสะดือ การ กระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ประดับ ตกแต่งสถานที่ การ ขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด การแยกหน่อ                 ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
รูปภาพ
   พะยอม ชื่อ สามัญ : Shorea , White meranti , Phayom ชื่อท้องถิ่น : กะยอม (เชียงใหม่) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี ) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G. Don ชื่อ วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้นสูง 15 - 30 เมตร เปลือกสีเทาเข้มแตกเป็นร่อง ใบเดี่ยวออกสลับ ดอกสีขาว กลิ่นหอมจัดออกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่งและปลายกิ่ง ผลรูปรี กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปีกยาว 3 ปีกสั้น 2 ปีก   การ กระจายพันธุ์ :กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกพม่า ไทย ลาว พบขึ้นทั่วไป แต่มักพบในป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบ  ที่ดินเป็นดินทราย ประโยชน์ : เนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้อักเสบ การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เม ล็ด               ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้