กล้วยน้อย

ชื่อสามัญ : -
ชื่อท้องถิ่น : กล้วยน้อย ตาแหลว สะทาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylopia vielana Pierre
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูง ๒๕ ม. ไม่ผลัดใบ ในภาคใต้ มักผลัดใบในภาคอื่น เปลือกสีน้ำตาลอมส้ม แตกเป็นแผ่น เปลือกในสีเหลืองอ่อน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบ หอก กว้าง ๓ – ๔.๕ ซม. ยาว ๕-๑๐ ซม. เมื่ออ่อน มีขนแข็งสีขาว ดอกเดี่ยว  หรือเป็นกระจุกไม่เกิน ๓ ดอก กลีบดอกสีเหลืองแกมน้ำตาลอ่อน กลิ่นหอมกลีบเลี้ยง ๓ กลีบ รูปรีแกมรูปสามเหลี่ยม โคนติดกันเป็นรูปถ้วย มี ๓ พู ผลย่อย แตก ตะเข็บ เดี่ยว เนื้อสีแดง คอดระหว่างเมล็ดเล็กน้อย มีขนประปราย ผลแก่สีเหลืองอมส้ม แก่แตกด้านเดียว มี ๒-๓ เมล็ด เมล็ดรูปไข่ สีแดง มี ๒ -๗ เมล็ด เมล็ดแข็ง สีม่วงอมเทาถึงดำ ๒ แถว มีเยื่อหุ้มบางสีอ่อน
การกระจายพันธุ์ : บริเวณป่าดิบชื้น  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน เวียดนาม กัมพูชา ไทย
ประโยชน์ : ดอก เข้าเกสรร้อยแปด ปรุงยาหอมบำรุงหัวใจ
การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ที่มา : ที่มา:ปิยะ เฉลิมกลิ่น.๒๕๔๔.พรรณไม้วงศ์กระดังงา.



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้