ชำมะเลียง
ชื่อสามัญ : -
ชื่อท้องถิ่น : พุมเรียง โคมเรียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง ๑๕ ม. กิ่งบางครั้งมีช่องอากาศ หูใบเทียมคล้ายใบติดเป็นคู่ที่โคนก้านใบ รูปรีกว้าง ยาว ๒-๔ ซม. มีก้านสั้น ๆ ใบประ@กอบปลายคี่ เรียงสลับหรือตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว ๙-๔๐ ซม. ใบปลายส่วนมากลดรูป ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปรีกว้าง ยาว ๒-๔ มม. ดอกสีม่วงอมแดงหรือขาว มี ๔ กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว ๑.๕-๓ มม. ขอบมีขนครุย เกสรเพศผู้มี ๕-๘ อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมาก ผลรูปรีหรือรูปไข่ ยาว ๑-๓ ซม. สุกสีม่วงดำ มี ๒ เมล็ด ยาว ๑-๒ ซม. มีขั้ว
การกระจายพันธุ์ : พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ผล เนื้อไม้แข็งและทนทาน ยอดอ่อนกินเป็นผักสดหรือใช้ปรุงอาหาร รากบดเป็นยาพอกแก้คัน
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ชื่อท้องถิ่น : พุมเรียง โคมเรียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูง ๑๕ ม. กิ่งบางครั้งมีช่องอากาศ หูใบเทียมคล้ายใบติดเป็นคู่ที่โคนก้านใบ รูปรีกว้าง ยาว ๒-๔ ซม. มีก้านสั้น ๆ ใบประ@กอบปลายคี่ เรียงสลับหรือตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก ยาว ๙-๔๐ ซม. ใบปลายส่วนมากลดรูป ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ รูปรีกว้าง ยาว ๒-๔ มม. ดอกสีม่วงอมแดงหรือขาว มี ๔ กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว ๑.๕-๓ มม. ขอบมีขนครุย เกสรเพศผู้มี ๕-๘ อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมาก ผลรูปรีหรือรูปไข่ ยาว ๑-๓ ซม. สุกสีม่วงดำ มี ๒ เมล็ด ยาว ๑-๒ ซม. มีขั้ว
การกระจายพันธุ์ : พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ในไทยพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ผล เนื้อไม้แข็งและทนทาน ยอดอ่อนกินเป็นผักสดหรือใช้ปรุงอาหาร รากบดเป็นยาพอกแก้คัน
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น