ยมชวน ชื่อวิทยาศาสตร์ Khaya senegalensis Juss ชื่อสามัญ African mahogany, dry zone mahogany, Gambia mahogany, khaya wood, Senegal mahogany, cailcedrat, and bois rouge. วงศ์ MELIACEAE (วงศ์ยมชวน) ในบางประเทศจัดเป็นไม้หายาก อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการใกล้ศูนย์พันธุ์ การขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางรอบ อก 1 เมตร เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกระบอก ทรงพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองหรือแดงเข้ม เนื้อละเอียดเหนียว ลวดลายสวยงาม เมื่อแห้งจะมีแถบแววสีทองขวางเส้นไม้ เนื้อไม้แข็ง มีคุณภาพดี สามารถใส กบและตกแต่งได้ง่าย ยึดตะปูได้ดี คุณภาพใกล้เคียงกับไม้สัก ทนทานต่อการเข้าทำลายของปลวก เปลือก สีน้ำตาลอมเทา หนาขรุขระ แตกเป็นร่องตามทางยาวของลำต้น และหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบ ประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 3 - 4 คู่ ออกตรงกันข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
สะเตียว ชื่อสามัญ : sa tiao ชื่อท้องถิ่น : สะเตียว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Madhuca motleyana (de Vriese) J. F. Macbr. ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 20-35 เมตร ลำต้นกลม เปลาตรง เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา ใบรูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลมถึงเรียวแหลม ใบเกลี้ยง ดอก ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามกิ่ง ผลรูปกลมแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม มี 1-2 เมล็ด การกระจายพันธุ์ : พบขึ้นในป่าพรุและในป่าที่ลุ่มน้ำขังทางภาคใต้ของประเทศไทย ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือนและทำเรือขุด การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany
สะท้อนรอก ชื่อสามัญ : - ชื่อท้องถิ่น : ทอนรอก ทะรอก ลูกกระรอกบานด่าน สมอพัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeocarpus robustus Roxb. ชื่อวงศ์ : ELAEOCARPACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 20-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลมบางครั้งแผ่กว้าง ลำต้นกลม บางครั้งมีพูพอนแคบ ๆ เปลือกสีน้ำตาลเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนสีเทาคลุม แผ่นใบ รูปรี รูปไข่ ถึงรูปขอบขนาน ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้น ๆ สากมือ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบถึงมน ขอบใบหยัก งอทำมุมกับแผ่นใบ ดอก สีขาวนวล ปลายกลีบดอกจักเป็นฝอย ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล รูปกลมรี เนื้อแข็ง มีขนสีน้ำตาลเทาคลุมหนาแน่น การกระจายพันธุ์ : พบตามป่าพรุและป่าดิบชื้น ที่ความสูงระดับตํ่าจนถึง 800 ม. จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ : ผล เป็นอาหารสัตว์ เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างภายใน อาคารบ้านเรือน การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น