ปาล์มเจ้าเมืองถลาง
ชื่อท้องถิ่น:ปาล์มหลังขาว ปาล์มเจ้าเมืองภูเก็ต
ชื่อสามัญ White Elephant Palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kerriodoxa elegans J.Dransf.
ชื่อวงศ์ :ARECACEAE—
ลักษณะเด่น ต้นเดี่ยวและไม่มีหน่อ สูง 3-4 เมตร ใบ รูปพัดกลม เนื้อใบบาง ต้นแยกเพศ ลำต้นตั้งตรง  ใบ โคนก้านใบ แบบผ่ามือเป็นรูปทรงกลม รูปสามเหลี่ยมแผ่นใบพับจีบเป็นรางน้ำ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาว แผ่นใบคลี่ตัว โคนก้านใบไม่มีเส้นใย ก้านใบ้ เกลี้ยงไม่มีหนามด้านบนใบสีเขียวอ่อนเป็นมัน ด้านท้องใบเป็นสีเงิน ผล ออกเป็นทะลายสั้นๆที่โคนกาบล่างผลอ่อนกลมเกลี้ยง เปลือกสีเหลือง ผลสุกสีเหลืองแก่ ถึงสีส้ม
การกระจายพันธุ์ : บริเวณป่าดิบชื้น ในเทือกเขาพระแทว อําเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติดั้งเดิมจึงถือเป็นพืชถิ่นเดียว ของประเทศไทยและของโลก
 ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ประดับ และจัดเป็นไม้หายาก ปลูกประดับในกระถางและปรับตัวอยู่ในห้องปรับอากาศได้ดีเมื่อสูงกว่า 1 เมตร

การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด               ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้