พญาสัตบรรณ
ชื่อสามัญ : Dita, Shaitan wood, Devil Tree
ชื่อท้องถิ่น : ตีนเป็ด  ตีนเป็ดดำ หัสบรรณ หัสบัน จะบัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris (L) R.Br
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบ ดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง ผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้นๆ เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น
การกระจายพันธุ์ : พืชท้องถิ่นในเขตร้อน พบได้ในประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ประโยชน์ : ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

การขยายพันธุ์  : ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและปักชำ    ที่มา : สำนักงานหอพรรณไม้






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้